top of page
Studio Commuan
Writer's pictureTheppituk Mos

ACADEMUAN | ตอนที่ 7 "3 Act Narration" : การเล่าเรื่อง 3 องก์



โครงสร้างของการเล่าเรื่องนั้นมาจากการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์กับการรับรู้เรื่องราว ข้อมูลทางพฤติกรรมถูกเก็บรวบรวมและออกแบบมาเป็นวิธีการที่เข้าใจได้ง่าย โดยโครงสร้างต่าง ๆ นั้นพิจารณาจากผลทางอารมณ์เป็นหลัก เพื่อเป็นเครื่องมือในการเขียนให้สนุก น่าติดตาม และบันเทิงใจ โครงสร้างมีมากมายหลายแบบ แต่เราขอนำเสนอเพียง 3 แบบที่เรายึดถือเอาไว้ใช้ในการพัฒนาบทกับผู้สร้างรายอื่นๆในระดับสากล จะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลย




" โครงสร้างการเล่าเรื่องแบบ 3 องก์ "


"สถาปนิกต้องเรียนการเขียนแบบอย่างไร คนเขียนบทย่อมต้องเข้าใจโครงสร้างการเล่าเรื่องฉันนั้น วันนี้เราจะมาพูดเรื่องพื้นฐานสำคัญของการเขียนที่คนเขียนบททุกคนต้องรู้ ไม่รู้คือเขียนบทกับคนอื่นยากแน่ๆ มาดูกันเลยครับ"

3 Act Narration หรือ แปลเป็นภาษาไทยว่า การเล่าเรื่องแบบ 3 องก์ เป็นโครงสร้างง่าย ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นเครื่องมือในการแบ่ง ต้น-กลาง-จบ ชองเรื่องราว และมันก็จะมีลักษณะแบบนี้



ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็จะเป็นเรื่องของ "นาย C เป็นแฟนกับนาง A แล้วมีนาง B จะมาแย่งนาย C "







องก์ 1 : Setup


Introduction

•นาง A เป็นแฟนกับนาย C และอยู่กันอย่างสงบสุข


Exposition

•วันหนึ่งนาง B มาทำเสน่ห์แย่งเอานาย C นาง A เสียใจมาก



 

องก์ 2 : Confrontation

Rising Action

•นาง A จึงวางแผนทำทุกอย่างเพื่อทำให้นาย C กลับมาไม่ว่าจะเป็นการ







•ไปแย่งตัวจากบ้าน แต่ก็หนีกลับไปทุกครั้ง





•คุยกับนาง B ดีๆ แต่นาง B ก็ขู่กลับและเยาะเย้ย ว่าไม่มีน้ำยา ทำให้นาง A เสียอกเสียใจ




Stakes get higher

  • นาย C จะยกทุกอย่างให้กับนาง B ทั้งที่เป็นสินสมรสกันมา







  • นาง A ไปพบกับหมอผีที่จะทำพิธีให้นาง B เลยตกลงให้ถอนของพร้อมให้เงินเยอะกว่า


Climax
  • หมอผีทำพิธีให้กับนาง A จนสำเร็จ นาย C กลับมาเป็นคนเดิม









 


องก์ 3 : Resolution

Falling Action

•นาย C กลับมาอยู่กับนาง A เหมือนเดิม







•นาง B เป็นบ้าเพราะของเข้าตัว







พอจะเริ่มเห็นภาพคร่าว แล้วทีนี้ลองมาดูใน Scale การเล่าเรื่องที่ใหญ่ขึ้นดูละกัน ยกตัวอย่าง Avenger :Infinity war ที่เรารู้จักกันดี ต่อจากนี้เราจะเอาการเล่าเรื่อง 3 องก์มาเทียบ ดูนะครับ


พบกับ Avenger Infinity War Act 1 : Setup 1.Setting & Inciting Incident ว่าด้วยการเล่าโลกปกติของตัวละครที่จู่ ๆ ก็มีเรื่องเกิดขึ้นกับชีวิตของเขา เป็นการเซต Objective หรือ Premise หลักของเรื่อง ว่าตัวละครเรากำลังต้องเผชิญหน้ากับอะไร และเขาจะทำมันได้สำเร็จหรือไม่


  • เรื่อง Avengers: Infinity War เล่าเรื่องโลกที่มีเหล่ายอดมนุษย์อเวนเจอร์อยู่กันอย่างสงบสุข แต่วันหนึ่งก็ถูกธานอสบุกมาเพื่อชิง Infinity Stone เพื่อหวังจะใช้ทำให้คนหายไปครึ่งจักรวาล เหล่าอเวนเจอร์จะปกป้องมณีเพื่อกอบกู้ชีวิตกว่าครึ่งจักรวาลได้หรือไม่? เราจะเห็นได้ว่าการ Setup จะเกิดขึ้นภายใน 13 นาทีแรกของเรื่อง


Act 2 : Confrontation 1.หลังจากเซตอัพเรื่องเสร็จแล้ว ก็จะเห็นแรงจูงใจของตัวละคร และภารกิจที่ตัวละครต้องการจะทำให้สำเร็จ แต่ตัวละครก็จะเจออุปสรรคเข้ามามากมายให้ฟันฝ่า มีทั้ง ล้มเหลว และ สำเร็จ เพราะถ้าตัวละครสามารถทำสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่เจอปัญหาใด เรื่องราวก็จะจบลงและไม่มีอะไรให้คนดูตามต่อ


  • โทนี่เสนอวิธีแก้ปัญหาด้วยการชิงทำลายมณีเวลา แต่ ดร.สเตรนจ์ปฏิเสธ จนลูกน้องธานอสบุกมาต่อสู้ สร้างความเสียหายให้โลก จนชนะและจับ ดร.สเตรนจ์ ขึ้นยานและมุ่งหน้าไปยังไททันได้ โทนี่จึงต้องขึ้นยานไปช่วย ดร.สเตรนจ์



2.เรื่องดำเนินมาจนถึง Midpoint เป็นจุดที่ตัวละครใช้วิธีการเดิมแก้ปัญหาแล้วมันไม่เวิร์ค จึงต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆถ้าเป็นโศกนาฎกรรมก็คือ มีคนเสียชีวิต หรือ ถ้าเป็นหนังรัก ก็จะเป็นจังหวะที่พระเอกนางเอกเลิกกันและดูเหมือนว่าไม่สามารถกลับมาคบกันได้อีก


  • ยกตัวอย่าง Avengers: Infinity War หลังจากที่ช่วย ดร.สเตรนจ์เสร็จ โทนี่ สตาร์คได้เรียนรู้ว่าการรอคอยในธานอสบุกมาที่โลกแล้วป้องกันนั้น สร้างความสูญเสียอย่างมาก เขาจึงต้องเปลี่ยนวิธีรับมือใหม่ ด้วยการบุกไปสู่ยังถิ่นของธานอสที่ดาวไททัน



3.Plot point หรือ การพิสูจน์ว่าสิ่งที่ตัวละครคิดจะเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ก่อนจะเข้าองก์สุดท้าย


  • ยกตัวอย่าง Avengers: Infinity War โทนี่ สตาร์ค ที่ตัดสินใจบุกไปที่ดาวไททัน ด้วยความเชื่อที่จะหยุดยั้งธานอสก่อนที่จะบุกไปยังโลก ก็ต้องพบกับความล้มเหลว เมื่อแผนการซุ่มโจมตี ดึงถุงมือมณี พังยับจากการที่สตาร์ลอร์ดยั้งอารมณ์ไม่อยู่ และเมื่อต่อสู้กัน พวกโทนี่ก็พ่ายแพ้ให้กับธานอสจนเสียมณีเวลาไปในที่สุด พิสูจน์ว่าความเชื่อที่โทนี่คิดว่าจะหยุดได้นั้น ก็เป็นความเชื่อที่ผิด



4.จุด Climax คือ จุดวิกฤตสูงสุดของสิ่งที่ตัวละครหลักต้องเจอ ตัวละครต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่เขาเรียรู้ เพื่อจัดการหยุดหยั้งปัญหาและทำภารกิจให้สำเร็จหรือไม่สำเร็จ


  • ยกตัวอย่าง Avengers: Infinity War เมื่อธานอสยึดมณีเวลาจากดาวไททันมาจากพวกโทนี่ได้ ก็บุกมาที่โลกเพื่อชิงมณีวิญญาณที่โลก เหล่าอเวนเจอร์สต้องพยายามหยุดยั้ง ด้วยการทำลายมณีวิญญาณก่อนที่ธานอสจะชิงไป แต่ท้ายที่สุดก็สูญเสียมณีวิญญาณ และก่อนที่ธานอสจะใช้พลังมณีลบล้างชีวิตครึ่งจักรวาล ธอร์ก็ได้ฟาดสตอร์มเบรคเกอร์ไปที่หน้าอกธานอสหวังปิดชีวิต แต่ก็ไม่ทันแล้ว ธานอสดีดนิ้วและทำให้ชีวิตครึ่งจักรวาลหายไป อเวนเจอร์สล้มเหลว


Act 3 : Resolution หรือ Denouncement

1.เป็นจุดที่ต้องตอบคำถามที่เซต Objective เอาไว้ หรือ Premise

ยกตัวอย่าง Avengers: Infinity War กับคำถามที่ว่า เหล่าอเวนเจอร์สจะสามารถปกป้องมณีเพื่อกอบกู้ชีวิตกว่าครึ่งจักรวาลได้หรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ ท้ายที่สุดเหล่าอเวเจอร์สก็พ่ายแพ้ให้กับธานอสและสูญเสียชีวิตไปครึ่งจักรวาล ธอร์เกิดแผลในใจ เป็นความแค้นถ้าหากเขาลงขวานไปที่หัวของธานอสคงไม่เกิดสิ่งนี้ขึ้น


2.ไม่ว่าตัวละครจะสามารถทำสิ่งที่ Premise เอาไว้ได้สำเร็จหรือไม่ แต่ตัวละครจะต้องมีการเรียนรู้อะไรบางอย่าง และเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งในกรณี Avengers: Infinity War เหล่าอเวนเจอร์สก็เปลี่ยนแปลงวิธีการที่จะต่อสู้กับธานอสต่อในภาค End Game

3.Denoument & Conclusion หรือ จุดคลี่คลาย เป็นจุดผ่อนคลายและสรุปเรื่องก่อนจะจบลงไป

•กรณี Avengers: Infinity War สำหรับเหล่าอเวนเจอร์สนั้นเป็นการจบแบบค้างคาสำหรับเหล่าฮีโร่ที่ไม่สามารถกอบกู้ชีวิตครึ่งจักรวาลไว้ได้ แต่ถ้ามองกลับกัน มันคือการทำภารกิจที่สำเร็จของตัวร้ายอย่างธานอส และเมื่อธานอสทำสำเร็จ เขาก็ได้เปิดวาร์ปไปยังดาวดาวหนึ่งที่มีฟาร์ม เพื่อนั่งชมพระอาทิตย์ตกดิน ใช้ชีวิตเรียบง่ายตามความต้องการและจบเรื่องไป


สิ่งที่แตกต่างไปจาก Diagram อันแรกคือจริง ๆ แล้ว Plot Point ไม่จำเป็นต้องมีครั้งเดียวนะ มันสามารถเกิดขึ้นหลายครั้งได้ หากแต่ละครั้งต้องสร้างพัฒนาให้กับตัวละครและ Plot



ถ้าลองเราเรื่องเล่าทุกเรื่องบนโลกมาเทียบ แม้แต่ข่าว , นิทาน เรื่องเล่าในชีวิตประจำวันก็ใช้วิธีการเดียวกันนี้ในการเล่าเรื่อง ลองสังเกตุหาจุด ก็ช่วยทำให้เราเข้าใจการเล่าเรื่องและนำมาใช้กับงานของเราได้แม่นยำขึ้น อย่างพอเวลาเราเอาเรื่องเราไปเข้าไว้ในโครงสร้างแล้ว ตอนที่เราหลงทางหรือเขียนอะไรเต็มไปหมดในบทของเรา เราลองถอยออกมาดูภาพรวมของเรื่อง แล้วเอาโครงสร้างนี้มาจับดูมันจะช่วยบอกได้ว่าฉากที่เรากำลังเล่ามันอยู่จุดไหนของโครงสร้างและเราจะให้ความสำคัญในการแก้ปัญหานี้ยังไง



สามารถ Download แผนผังที่เราใช้ในการเขียนงานของเราเอาไปเติมคำในช่องว่างเพื่อเข้าใจโครงเรื่องของตัวเองได้


399 views0 comments

Commentaires

Les commentaires n'ont pas pu être chargés.
Il semble qu'un problème technique est survenu. Veuillez essayer de vous reconnecter ou d'actualiser la page.
bottom of page