top of page
Studio Commuan

ACADEMUAN | ตอนที่ 6 Theme vs Topic ความเหมือนที่แตกต่าง

Updated: Mar 18, 2022



นี่คือเรื่องที่ยากที่สุดในการเรียนการสอนการเล่าเรื่อง มันนามธรรมมาก จนแม้แต่มืออาชีพยังสับสนอยู่บ่อยๆ บางคนถึงกับถามว่ามันจำเป็นต้องรู้เรื่องนี้หรือการเล่าเรื่องของเรามันต้องมีสิ่งนี้หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ



"นี่เป็นหัวข้อที่มีการให้คำนิยามแตกต่างกันมากที่สุดเท่าที่ค้นคว้ามา แต่พอจะสรุปตำราที่เข้าใจง่ายและอธิบายได้ชัดเจนมาให้ฟังกันนะครับ"

คือท่าทีสรุปในแก่นกลางของหัวข้อหรือสารของเรื่อง

ยกตัวอย่าง ความรัก ซึ่งคำนี้เฉยๆ มันคือหัวข้อ แต่ "เรียนรู้ที่จะรักตัวเอง" นี่คือ Theme Theme ถูกใช้ในการสื่อสาร ไอเดียสำคัญและข้อความที่เกี่ยวกับเหตุที่ตัวละครกำลังเผชิญหน้าอยู่ และใช้มัน Setting การเล่าเรื่อง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่าควรเกี่ยวกับ Theme ที่เรากำหนดไว้


ดังนั้นที่กล่าวว่า "ความรัก" "ความตาย" "สงคราม" เป็น Theme ยังไม่ใช่ มันคือ "หัวข้อ"


Theme จะเป็น Theme ได้ต่อเมื่อมันถูกพูดถึงหรือวางตำแหน่งของมันในทัศนคติของคนพูด ดังนั้น "ความรัก" อย่างเดียวยังไม่มีความหมายอะไรมารายล้อมมัน แต่ "รักทำให้คนตาบอด" หรือ "รักคือทุกสิ่งที่ต้องการ" คือ Theme ที่ชัดเจนว่าคนเขียนอยากทำให้คนดูคนอ่านรู้สึกอย่างไรกับความรัก และทำให้คนอ่านทำความเข้าใจเรื่องในระดับลึกลงไปได้อีก ยกตัวอย่าง Remeo and Juliet เรารู้จัก Romeo and Juliet กันแล้วเนาะ ทั้งคู่รักกัน แต่ไม่สมหวังเพราะครอบครัวเป็นศัตรูกันและตายตกไปตามกันอย่างน่าเศร้า เรื่องนี้มี Topic อยู่ 2 อย่างคือ • ความรัก • ชะตากรรม แต่จริง ๆ "ชะตากรรมเอาชนะความรัก คือ Theme

แต่จริงๆแล้ว Theme จะแปรผันไปตามความซับซ้อนของเรื่องราว ในบางครั้งมันอาจจะเป็นคำๆเดียวกำได้ ยกตัวอย่างพวกนิทานอีสป Theme ส่วนใหญ่จะพูดถึงประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ ความเชื่อมโยงเหล่านั้นทำให้เมื่อหนังจบลง ประสบการณ์ร่วมที่คนดูมีต่อ Theme จะทำงานและทำให้เรื่องที่เราเล่าอยู่ในใจเขาตลอดไป


ลองยกตัวอย่าง Topic และ Theme ในหนังเรื่องอื่นๆ มาดู


 

คือแก่นที่แท้จริงของเรื่องที่เราจะเล่า





ประโยชน์ของการใช้ Theme


1. ใช้ควบคุมการไอเดีย ไม่ให้เตลิด ถ้าเกิดเราเขียนหนังสืบสวนอย่าง CSI ที่มี Theme เกี่ยวกับ "ความยุติธรรม" เราก็คงไม่ปล่อยให้ตำรวจกราดยิงคนร้ายอย่างรุนแรงจนตายเพื่อความยุติธรรมใช่ไหม เราก็คงใช้วิธีฉลาดๆ ในการที่ตำรวจทำให้คนร้ายจนมุมและเข้าคุกไปตามกฏหมาย 2. ใช้คุมเส้นทางการเล่าเรื่อง เมื่อ Plot เรื่องไปเรื่อยๆ เกิดต้องเลือกเส้นทางของมัน ให้ย้อนกลับไปดูว่าเรา Set Theme อะไรไว้ แล้วก็เดินเรื่องไปตามนั้น


จะเห็นได้ว่าเรากรอบของการเล่าเรื่องครบทั้ง 3 ประการแล้ว น่าจะช่วยให้ทุกคนเขียนออกมารู้เรื่องแล้ว แต่ทีนี้มักจะมีคำถามว่าเขียนยังไงให้สนุก เราจะมาทำความรู้จักกับ "โครงสร้างการเล่าเรื่อง" ซึ่งเป็นเทคนิคในการคุมอารมณ์คนดูให้อยู่มือ จะเป็นยังไงกดดูถัดไปได้เลย...


143 views0 comments
bottom of page